ต้องการแลกลิงค์กับเรา Copy Code ไปไว้ที่เว็บท่านได้เลยครับ แล้วเมล์มาแจ้งเราจะนำแบบเนอร์ขจงท่าน มาติดที่เว็บเรา Bigqtraining.com ดูลิงค์ทั้งหมด
การตรวจประเมินคุณภาพภายใน INTERNAL QUALITY AUDITS ( IQA )IATF16949:2016
หลักการจัดการ การตรวจประเมินเป็นกระบวนการหนึ่งที่ถูกระบุไว้ในข้อกำหนดของระบบบริหารเพื่อทำให้องค์กรได้มีกิจกรรมการตรวจประเมินเพื่อ • เพื่อให้ทราบถึงสภาวะและสืบหาบ่งชี้ต้นเหตุของปัญหาในระบบบริหารคุณภาพสำหรับการปรับปรุงแก้ไข • เพื่อป้อนรายงานผลที่ถูกต้องต่อฝ่ายบริหารในเรื่องของผลการนำเอาระบบไปใช้ • เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ ISO9001:2015,และ IATF16949:2016 ข้อที่ 9.2 และได้การรับรองจากการตรวจโดยบุคคลที่ 3 ( CB ) • ทราบความสอดคล้องของการดำเนินงานกับ 1) ข้อกำหนดของระบบการจัดการคุณภาพขององค์กรหรือไม่ 2) ข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้หรือไม่ ในกระบวนการตรวจประเมินมี ISO19011:2011 ได้มีการระบุกระบวนการตรวจประเมินเพื่อให้ทุกองค์กรใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา กระบวนการตรวจให้มีประสิทธิภาพสามารถประเมินและค้นพบปัญหาได้กระบวนการ ภาพรวมได้ถูกอธิบายไว้ในภาพ โดยการวางแผนการตรวจจะเป็นการตรวจเป็นกระบวนการตามสถานะความสำคัญและผลการตรวจครั้งที่ผ่านมา และใช้การวิเคราะห์กระบวนการโดยใช้หลักการของ Turtle Diagram จึงทำให้การตรวจมีความละเอียดมากในแต่ละกระบวนการ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจขั้นตอนการตรวจประเมินและสามารถดำเนินการ ตรวจประเมินเพื่อทำให้สามารถทราบสถานะของการดำเนินการตามระบบบริหารได้อย่าง มีประสิทธิภาพทั้ง QMS , Process , Products กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ : สำหรับผู้ตรวจประเมินในระบบ IATF16949:2016 ต้องผ่านการอบรม Core Tools มาแล้วและมีประสบการณ์และความเข้าใจในการประยุกต์ใช้ จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น วันที่ 1 ( IQA เฉพาะส่วน QMS IATF16949 ) 09.00-12.00 - วัตถุประสงค์ของการตรวจประเมิน - ข้อกำหนด IATF16949:2016 ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมิน - ผู้เกี่ยวข้องกับการตรวจติดตามภายใน - ขั้นตอนในการตรวจติดตาม * การกำหนดทีมผู้ตรวจติดตาม * การทบทวนเอกสาร BPM และ QP,WI ที่เกี่ยวข้อง * การวางแผนการตรวจติดตามQMS , WORK SHOP * การจัดทำ Check List แบบ Turtle Diagram , WORK SHOP * การประชุมเปิด 12.00-13.00 - พัก 13.00-17.00 * เทคนิคการตรวจและการสัมภาษณ์ * เทคนิคการบันทึกผลการตรวจติดตาม * WORK SHOP ตรวจติดตามหน้างาน * การวิเคราะห์สิ่งที่ตรวจพบและการเขียนใบ CAR วันที่ 2 ( IQA เฉพาะส่วน Manufacturing Process Audit & Product Audit ) 09.00-12.00 - ข้อกำหนด IATF16949:2016 ที่เกี่ยวข้องกับ Process Audit & Product Audit - ผู้เกี่ยวข้องกับการตรวจ Process Audit & Product Audit - ขั้นตอนในการตรวจติดตาม * การกำหนดทีมผู้ตรวจติดตาม * การทบทวนเอกสาร PPAP * การวางแผนการตรวจติดตาม WORK SHOP * การจัดทำ Check List แบบ Turtle Diagram , WORK SHOP 12.00-13.00 - พัก 13.00-17.00 * เทคนิคการตรวจ Process , Products * เทคนิคการบันทึกผลการตรวจติดตาม * WORK SHOP ตรวจติดตามหน้างาน * การวิเคราะห์สิ่งที่ตรวจพบและการเขียนใบ CAR - Q&A เอกสารเฉพาะที่ลูกค้าต้องจัดเตรียม 1. การตรวจ QMS เอกสารที่ต้องเตรียมได้แก่ QM , QP FORM สำหรับกระบวนการที่จะทำ WORKSHOPตรวจประเมิน (ให้ใช้แฟ้มที่แจกจ่ายในแต่ละแผนก) 2. การตรวจ Process & Product เตรียมชุดPPAP ของผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิต ณ วันอบรมและแผนการส่งมอบวัตถุดิบ การผลิต และการส่งมอบสินค้า REMARK รายการที่ 1,2 ให้จัดเตรียม 6 ชุด ( 1ชุด=5คน ) รายละเอียดข้อกำหนด IATF16949:2016 ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมินภายใน 7.2.3 ความรู้ความสามารถของผู้ตรวจสอบภายใน องค์กรต้องมีเอกสารกระบวนการในการยืนยันว่าผู้ตรวจสอบภายในมีความรู้ความ สามารถ โดยพิจารณาข้อกำหนดเฉพาะของลูกค้าทั้งหมด สำหรับแนวทางเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้ความสามารถของผู้ตรวจสอบ ดูได้จาก ISO 19011 และองค์กรต้องเก็บรักษารายชื่อของผู้ตรวจสอบภายในที่มีคุณสมบัติเอาไว้ ผู้ตรวจสอบระบบการบริหารจัดการคุณภาพ ผู้ตรวจสอบกระบวนการผลิต และผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ต้องสามารถพิสูจน์ความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้: a) การทำความเข้าในวิธีการเชิงกระบวนการสำหรับยานยนต์ สำหรับการตรวจสอบรวมถึงการคิดบนพื้นฐานความเสี่ยง b) การทำความเข้าใจข้อกำหนดเฉพาะของลูกค้า c) การทำความเข้าใจข้อกำหนดของ ISO 9001 และ IATF 16949 ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตของการตรวจสอบ d) การทำความเข้าใจข้อกำหนดของเครื่องมือหลักที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตของการตรวจสอบ e) การทำความเข้าใจวิธีการวางแผน การดำเนินการ การรายงาน และเปิดเผยผลการตรวจสอบ นอกจากนี้ ผู้ตรวจสอบกระบวนการผลิตต้องแสดงความเข้าใจทางเทคนิคเกี่ยวกับกระบวนการผลิต ที่เกี่ยวข้องที่จะทำการตรวจสอบ รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงของกระบวนการ (เช่น PFMEA) และแผนควบคุม ผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ต้องแสดงความรู้ความสามารถในการทำความเข้าใจข้อกำหนดของ ผลิตภัณฑ์และการใช้เครื่องมือวัดและเครื่องมือทดสอบที่เกี่ยวข้อง เพื่อยืนยันว่าผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับข้อกำหนด เมื่อจัดการฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความสามารถ ต้องเก็บรักษาเอกสารข้อมูลเพื่อแสดงถึงความรู้ความสามารถของผู้ให้การฝึก อบรมในข้อกำหนดข้างต้น ต้องมีการดูแลรักษาและการปรับปรุงความรู้ความสามารถของผู้ตรวจสอบภายในผ่าน f) การทำการตรวจสอบขั้นต่ำต่อปี ตามที่องค์กรกำหนด และ g) การรักษาระดับความรู้ในข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องตามการเปลี่ยนแปลงภายใน (เช่น เทคโนโลยีของกระบวนการ เทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์) และการเปลี่ยนแปลงภายนอก (เช่น ISO 9001, IATF 16949, เครื่องมือหลัก และข้อกำหนดเฉพาะของลูกค้า) 9.2 การตรวจสอบภายใน 9.2.1 องค์กรต้องดำเนินการตรวจสอบภายในในระยะต่างๆตามแผน เพื่อให้ข้อมูลว่าระบบการจัดการคุณภาพ: a) สอดคล้องกับ 1) ข้อกำหนดของระบบการจัดการคุณภาพขององค์กรหรือไม่ 2) ข้อกำหนดของมาตรฐานสากลฉบับนี้หรือไม่ b) มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ 9.2.2 องค์กรต้อง: a) วางแผน กำหนด ดำเนินการ และรักษา แผนการการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยความถี่ วิธีการ ความรับผิดชอบ ข้อกำหนดในการวางแผนและการรายงาน ซึ่งจะต้องพิจารณาความสำคัญของกระบวนการที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อองค์กร และผลลัพธ์ของการตรวจสอบครั้งที่ผ่านมา b) ระบุเกณฑ์การตรวจสอบและขอบเขตของการตรวจสอบแต่ละครั้ง c) เลือกผู้ตรวจสอบและดำเนินการตรวจสอบตามวัตถุประสงค์ของกระบวนการตรวจสอบ d) รายงานผลการตรวจสอบให้กับผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง e) ทำการแก้ไขที่เหมาสมโดยไม่ล่าช้า f) เก็บรักษาข้อมูลเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานของการดำเนินการโปรแกรมการตรวจสอบและผลการตรวจสอบ หมายเหตุ ดูแนวทางได้จาก ISO 19011 9.2.2.1 โปรแกรมการตรวจสอบภายใน องค์กรต้องมีกระบวนการตรวจสอบภายใน องค์กรต้องรวมการพัฒนาและการดำเนินการโปรแกรมการตรวจสอบภายในที่ครอบคลุม ระบบการบริหารจัดการคุณภาพทั้งหมด ซึ่งรวมถึง การตรวจสอบระบบการบริหารจัดการคุณภาพ การตรวจสอบกระบวนการผลิต และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ โปรแกรมการตรวจสอบต้องถูกจัดลำดับความสำคัญตามความเสี่ยง แนวโน้มของผลการดำเนินการภายในและภายนอ และความวิกฤติของกระบวนการ เมื่อองค์กรรับผิดชอบในการพัฒนาซอฟต์แวร์ องค์กรต้องรวมการประเมินความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ไว้ในโปรแกรมการตรวจ สอบภายในของตนด้วย ต้องมีการทบทวนความถี่ของการตรวจสอบ และปรับเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ความไม่สอดคล้องภายในและภายนอก และ/หรือ ข้อเรียกร้องของลูกค้า และต้องทบทวนประสิทธิผลของโปรแกรมการตรวจสอบ ในฐานะส่วนหนึ่งของการทบทวนการบริหารจัดการ 9.2.2.2 การตรวจสอบระบบบริหารจัดการคุณภาพ องค์กรต้องตรวจสอบกระบวนการทั้งหมดในระบบบริหารจัดการคุณภาพ ในช่วงเวลา 3 ปี ตามโปรแกรมประจำปี โดยใช้วิธีเชิงกระบวนการเพื่อยืนยันความสอดคล้องกับมาตรฐาน QMS สำหรับยานยนต์ฉบับนี้ องค์กรต้องสุ่มตรวจสอบข้อกำหนดของระบบการบริหารจัดการคุณภาพเฉพาะลูกค้า เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพ 9.2.2.3 การตรวจสอบกระบวนการผลิต องค์กรต้องตรวจสอบกระบวนการผลิตทั้งหมดในระยะเวลา 3 ปี เพื่อประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพโดยใช้วิธีการตรวจสอบกระบวนการดังที่ ลูกค้ากำหนด เมื่อลูกค้าไม่ได้กำหนดเอาไว้ องค์กรต้องเป็นผู้กำหนดวิธีที่จะใช้ ภายในแผนตรวจสอบแต่ละแผน ต้องทำการตรวจกระบวนการผลิตแต่ละกระบวนการในทุกกะ ที่มีการใช้กระบวนการ รวมถึงการสุ่มตัวอย่างเมื่อเปลี่ยนกะ การตรวจสอบกระบนการผลิตต้องประกอบด้วยการตรวจสอบประสิทธิภาพของการประเมิน ความเสี่ยงของกระบวนการ (เช่น PFMEA), แผนควบคุม และเอกสารที่เกี่ยวข้อง 9.2.2.4 การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ องค์กรต้องตรวจสอบผลิตภัณฑ์โดยใช้วิธีการที่ลูกค้ากำหนดในขั้นตอนที่จำเป็น ของการผลิตและการจัดส่ง เพื่อยืนยันความสอดคล้องกับข้อกำหนดที่ระบุ เมื่อลูกค้าไม่ได้กำหนดไว้ องค์กรต้องระบุวิธีการที่จะใช้
ติดต่อสอบถามข้อมูลการอบรม บริษัท บิ๊กคิว เทรนนิ่ง จำกัด BIG Q TRAINING CO., LTD.
16/2 หมู่ 6 ต.มาบแค อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 16/2 Moo 6, Marb-kae, Muang Nakornpathom, Nakornpathom 73000 Tel: 089-9993466 , 095-4469644 อุดมศักดิ์ Tel: 090-4649464 , 0954469446 กฤตติกา Fax : 034973518
เว็บไซต์ : www.bigqtraining.com Email : info@bigqtraining.com