ต้องการแลกลิงค์กับเรา Copy Code ไปไว้ที่เว็บท่านได้เลยครับ แล้วเมล์มาแจ้งเราจะนำแบบเนอร์ขจงท่าน มาติดที่เว็บเรา Bigqtraining.com ดูลิงค์ทั้งหมด
ข้อกำหนดระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 2015 (Fifth edition 2015-09-15)
สภาพปัญหาที่พบ เป้าหมายของการดำเนินธุรกิจคือ ผลกำไร และ อัตราการเติบโต ซึ่งกระบวนการทำให้เกิดกำไรนั้นจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เป็นเงินกลับมาให้องค์กร โดยทางองค์กรต้องพยายามทำให้มีต้นทุกในการก่อนเกิดสินค้าและบริหารที่ต่ำ กว่าเงินที่ได้รับมาผลต่างนั้นคือกำไร แต่ปัญหาของการทำธุรกิจไม่ได้มีเพียงการทำให้เกิดตัวเงินที่เหมาะสมยังมี ปัจจัยภายนอกเช่น ข้อแม้ของลูกค้าที่ใช้เป็นเกณฑ์การตัดสินใจเลือกใช้บริการ คู่แข่งทางธุรกิจ ซึ่งทำให้เกิดส่วนแบ่งทางการตลาดที่ไม่แน่นอน ทุกองค์กรจึงไม่สามารถรักษาระดับการตลาดได้อย่างมั่นคงจำเป็นต้องมีการพัฒนา เพื่อตอบสนองความต้องการอยู่ตลอดเวลาเพื่อรักษาและเพิ่มระดับยอดขาย ส่วนปัจจัยภายในที่ใช้ในการเพื่อผลผลิต เช่น คน เครื่องจักรอุปกรณ์ สภาพแวดล้อม วัตถุดิบ วิธีการ ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดต้นทุนก็ต้องมีการบริหารจัดการและใช้อย่างเหมาะสมคุ้ม ค่าที่สุด ISO 9001 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบบริหารคุณภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ(Customer Satisfaction) จัดทำขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ ว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization) เป็นระบบบริหารคุณภาพที่ใช้ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตหรือการบริการ โดยไม่คำนึงถึงขนาดองค์กร เทคโนโลยี ความซับซ้อนของกระบวนการผลิต ฯลฯ มาตรฐาน ISO 9001 มีข้อกำหนด (Requirement) ที่องค์กรที่จะขอการรับรองระบบต้องมี และต้องนำมาประยุกต์ใช้ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement) และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า ซึ่งมาตรฐานสากลฉบับนี้ใช้การดำเนินงานเชิงกระบวนการที่ผนวกเอาวงจร Plan-Do-Check-Act (PDCA) และการคิดบนพื้นฐานความเสี่ยงเข้าด้วยกัน การดำเนินงานเชิงกระบวนการนี้ทำให้องค์กรสามารถวางแผนกระบวนการของตนและปฏิ สัมพันธ์ระหว่างกัน วงจร PDCA ทำให้องค์กรมั่นใจได้ว่ากระบวนการของตนมีการใช้ทรัพยากรและมีการจัดการอย่างเหมาะสม และมีโอกาสในการปรับปรุงอยู่เสมอ การคิดบนพื้นฐานความเสี่ยงทำให้องค์กรสามารถกำหนดปัจจัยที่อาจทำให้กระบวน การและระบบการจัดการคุณภาพของตนเปลี่ยนไปจากที่วางแผนไว้ และสามารถกลับมาควบคุมป้องกันได้ เพื่อลดผลเสียและเพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้น รูปที่ แสดงโครงสร้างของมาตรฐานสากลฉบับนี้ ในวงจร PDCA การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการคุณภาพเป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ขององค์กรที่จะสามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมและเป็นพื้นฐานสำหรับการริเริ่มการพัฒนาอย่างยิ่งยืน ประโยชน์ที่องค์กรอาจได้รับจากจัดทำระบบการจัดการคุณภาพตามแนวทางของมาตรฐานสากลคือ: a) มีความสามารถในการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า และเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ b) เพิ่มโอกาสในการยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า c) จัดการกับความเสี่ยงและโอกาสที่เกิดเกี่ยวข้องกับบริบทและวัตถุประสงค์ d) ความสามารถแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบการจัดการคุณภาพที่กำหนด จากแนวคิดการพัฒนาแนวทางการบริหารจะพบว่ายังคงการมุ่งเน้นหลักการ “Process Approach” หรือกระบวนการดำเนินงาน คือ การนำเอาทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตป้องเข้าสู่ระบบการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ หลักการของ Process Approach นี้เน้นให้มองงาน / กระบวนการ / กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ หรือเป็นกระบวนการสนับสนุน กระบวนการ / กิจกรรมต่างๆ นี้ให้มองในรูปของกระบวนการ (Process) ที่แต่ละ Process จะมีทั้งปัจจัยเข้า (Input) และปัจจัยออก หรือผล (Output) ใน ISO9001:2015 พบว่าการ บริหารเชิงกระบวนการ เพียงอย่างเดียวยังมีโอกาสที่อาจเกิดความล้มเหลวหรือปัญหาเกิดขึ้นจึงได้มีการนำเอาหลักการประเมินความเสี่ยงเข้ามาเป็นข้อมูลป้อนเข้าสำหรับการออกแบบขั้นตอนการปฏิบัติงานในแต่ละกระบวนการ โดยมีแนวคิดทำให้เกิดการวางแผนที่มุ่งเน้นการป้องกันไว้ล่วงหน้าเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซึ่งใน ฉบับก่อนหน้านี้ การป้องกัน ได้มีการระบุในข้อกำหนดเฉพาะ 8.5.3 ซึ่งองค์กรอาจไม่ได้มีการประยุกต์ใช้อย่างถูกต้อง ขั้นตอนการพัฒนาระบบการบริหารงานคุณภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบรายละเอียดข้อกำหนดของ ISO9001:2015 และการประยุกต์ใช้ เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนการออกแบบระบบบริหารตามข้อกำหนด ISO9001 :2015 กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น กำหนดการอบรม 1 วัน ตั้งแต่ 09.00-16.30 หัวข้อการอบรม 09.00-10.30 บทนำ - ประโยชน์ที่ได้จากการทำ ISO9001 - ขั้นตอนการออกแบบระบบบริหาร ข้อกำหนด 1 ขอบข่าย 2 มาตรฐานอ้างอิง 3 คำศัพท์และคำนิยาม 4 บริบทขององค์กร 4.1 ความเข้าใจในองค์กรและบริบทขององค์กร 4.2 ความเข้าใจในความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย 4.3 การกำหนดขอบเขตของระบบการจัดการคุณภาพ 4.4 ระบบการจัดการคุณภาพและกระบวนการต่างๆ 5 ภาวะผู้นำ 5.1 ความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่น 5.2 นโยบาย 5.3 บทบาท ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ 6 การวางแผน 6.1 การดำเนินการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงและโอกาส 6.2 วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพและการวางแผนให้บรรลุผลสำเร็จ 6.3 การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง 7 การสนับสนุน 7.1 ทรัพยากร 7.2 ทักษะความสามารถ 7.3 ความตระหนัก 7.4 การติดต่อสื่อสาร 7.5 เอกสารข้อมูล 12.00-13.00 พักเที่ยง 13.00-16.30 8 การปฏิบัติงาน 8.1 การวางแผนและการควบคุมการปฏิบัติงาน 8.2 ข้อกำหนดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ 8.3 การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ 8.4 การควบคุมกระบวนการผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้จากภายนอก 8.5 การผลิตและการให้บริการ 8.6 การปล่อยผลิตภัณฑ์และการบริการ 8.7 การควบคุมผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด 9 การประเมินผลการดำเนินงาน 9.1 การติดตาม การวัดผล การวิเคราะห์ และการประเมินผล 9.2 การตรวจประเมินภายใน 9.3 การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร 10 การปรับปรุง 10.1 บททั่วไป 10.2 ความไม่สอดคล้องและการปฏิบัติแก้ไข 10.3 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบการอบรม - บรรยายทำความเข้าใจข้อกำหนดและแนวทางการเปลี่ยนแปลงระบบจาก ISO 9001:2008 เป็น ISO 9001:2015 - เอกสารที่ใช้ในการอบรมเป็นเอกสารข้อกำหนดฉบับที่ประกาศเมื่อวันที่ 15-09-15 ที่มีการแปล ( EN-TH ) แล้วทั้งฉบับเพื่อทำให้ได้รับข้อมูลข้อกำหนดอย่างครบถ้วน
ติดต่อสอบถามข้อมูลการอบรม บริษัท บิ๊กคิว เทรนนิ่ง จำกัด BIG Q TRAINING CO., LTD.
16/2 หมู่ 6 ต.มาบแค อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 16/2 Moo 6, Marb-kae, Muang Nakornpathom, Nakornpathom 73000 Tel : 090-464-9464 Tel : 095-446-9446 Tel : 095-446-9644 Fax : 034-973518 เว็บไซต์ : www.bigqtraining.com Email : info@bigqtraining.com