ต้องการแลกลิงค์กับเรา Copy Code ไปไว้ที่เว็บท่านได้เลยครับ แล้วเมล์มาแจ้งเราจะนำแบบเนอร์ขจงท่าน มาติดที่เว็บเรา Bigqtraining.com ดูลิงค์ทั้งหมด
การสอนงานและการชี้แนะสำหรับหัวหน้างาน (Trainine & Coaching For Leader)
สภาพปัญหาที่พบ ความรู้และทักษะในการทำงานคือสิ่งที่จะเป็นที่พนักงานจำเป็นต้องมีเพื่อทำ ให้เกิดการทำงานที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพและคุณภาพ แต่ปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือพนักงานใหม่และพนักงานที่มีอยู่เดิม ขาดความรู้ที่ถูกต้อง และทักษะที่เหมาะสมในการทำงาน เนื่องจากไม่มีการสอนงาน ดังนั้นจากแนวคิดการพัฒนาคนเพื่อพัฒนางาน และ แนวคิดที่ว่าหัวหน้าคือผู้ที่ชำนาญงานเป็นที่สุด ต้องเข้าใจและรับรู้วิธีการสอนงานโดย การประเมินความเกี่ยวข้องในงาน การจัดทำสื่อสำหรับการสอน และวิธีการสอนงาน รวมถึงการประเมินผล เพื่อทำให้เกิดการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการที่มีคุณภาพ หลักการจัดการ/รายละเอียดเบื้องต้น การสอน (Training) เป็นหนึ่งในหน้าที่ของหัวหน้างานซึ่งหลักการนี้มีมายาวนานมากและได้มีหลัก การที่ใช้เป็นแนวทางเช่น Training Within Industry for Supervisor เป็นหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนภาคการผลิตในอุตสาหกรรมของ สหรัฐอเมริกา ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อราว ค.ศ. 1940 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะหัวหน้างาน ( Skill Supervisor) เป็นหลัก TWI ได้ถูกนำมาใช้ในประเทศญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งก็สามารถประสบความสำเร็จอย่างสูงและเป็นหลักสูตรภาคบังคับสำหรับหัวหน้า งานทุกระดับ ปัจจุบันToyota ได้นำหลักสูตรนี้เข้ามาพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเช่นกันหลักสูตรนี้ประกอบด้วย 3 J ดังนี้ การพัฒนา “ทักษะการสอนงาน” Job Instruction ทำให้หัวหน้างาน 1.รู้จักการแบ่งหน้าที่ ประเมินผลความสามารถของพนักงาน 2.สามารถวิเคราะห์รายละเอียด/กิจกรรมย่อย จนสามารถทำสื่อการสอน และ เตรียมตัวสำหรับการสอน 3.มีทักษะการถ่ายทอดความรู้ที่มีให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้องถึงขั้นตอนการทำงานในแต่ละขั้น ทำให้ผู้ปฏิบัติงานให้สามารถทำงานของพวกเขาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องเท่า ที่พวกเขาจะสามารถทำได้ หัวหน้างานคือ“รู้งาน”และ “รู้หน้าที่” ถ้าไม่รู้ก็ไม่มีทางที่จะเป็นผู้สอนงานได้และถ้าพนักงานทำไม่ได้ทำไม่ถูก นั้นคือ “ปัญหาที่เกิดจากหัวหน้างาน” การชี้แนะ (Coaching) Zeus และ Skiffington (2002: 6-7) ได้ อธิบายว่า คำว่า coaching ปรากฏขึ้นในภาษาอังกฤษราวปี 1500 ซึ่งหมายถึง ยานพาหนะชนิดหนึ่งที่ใช้ขนส่งคนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง แนวคิดของการขนส่งนี้ได้นำมาใช้ในการชี้แนะให้บุคคลทำงานมาอย่างต่อเนื่อง ราวปี 1930-1940 มีการใช้การชี้แนะ (Coaching) โดยกลุ่มคนที่เรียกว่า พี่เลี้ยง(mentor) เพื่อช่วยเหลือบุคคลให้สามารถทำงานได้ตามที่พี่เลี้ยงต้องการให้เกิดขึ้น ถือเป็นยุคแรก ๆ ที่ถือว่าการชี้แนะ (Coaching) เป็นบทบาทหน้าที่ของพี่เลี้ยง การชี้แนะในการบริหารธุรกิจ ได้ปรากฏครั้งแรกในเอกสารการบริหารธุรกิจในปี 1950 ซึ่งถือเป็นทักษะของการบริหารอย่างหนึ่ง ต่อมาได้แพร่ขยายแนวคิดการชี้แนะไปยังแคนาดา มีการผนวกเอาการชี้แนะทักษะชีวิตและ การชี้แนะทางธุรกิจเข้าด้วยกัน ในระยะแรกการชี้แนะเป็นวิชาชีพที่ปฏิบัติการดูแลต่อเนื่องจากการอบรม (Training) และมีการแต่งตั้งบุคคลทำหน้าที่นี้เป็นการเฉพาะ การชี้แนะในปัจจุบันได้แตกแขนงออกมาจากหลักการและการปฏิบัติในสาขาจิตวิทยา การกีฬา(sport psychology) นำมาปรับใช้ในวงการธุรกิจ การบริหาร และการชี้แนะทักษะชีวิต ในระยะต่อมาเริ่มมีการนำแนวคิดเรื่องการชี้แนะมา ใช้ในเกือบทุกวงการ มีผู้ชี้แนะ(coach) หรือ พี่เลี้ยง (mentor) ที่ถือเป็นวิชาชีพเฉพาะ ในต่างประเทศมีองค์วิชาชีพนี้เข้ามาดูและพัฒนาทักษะการชี้แนะอย่างเป็นล่ำ เป็นสัน สำหรับวงการการศึกษาในประเทศไทย เรื่องการชี้แนะ นี้คงเป็นเรื่องใหม่มาก เวลาพูดกันในวงนักการศึกษาที่ไร คนมักเข้าใจถึงโค้ชของนักกีฬาอยู่ทุกทีไป ความแตกต่างระหว่างการสอนหรือการโค้ช วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจแนวคิดและหลักการของการพัฒนาพนักงานใต้บังคับบัญชาของตน 2. เพื่อให้หัวหน้างานมีความสามารถในการประเมินความจำเป็นของการสอนหรือการโค้ชงาน รวมถึงการเตรียมตัวเพื่อการสอนหรือการโค้ช 3. เพื่อให้หัวหน้างานมีทักษะของการสอนและการโค้ชงานตามสภาพการที่เหมาะสมจนทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ที่สนใจ จำนวนผู้เข้าอบรม : 12-15 คน/รุ่น กำหนดการอบรม วันที่ 1 09.00-12.00 น. บทนำ - หลักการบริหารงานพื้นฐาน - ภาระหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารของแต่ละตำแหน่ง - ปัญหาที่พบบ่อยในสถานที่ทำงาน - ปัจจัย 5 ประการสำหรับหัวหน้างานตามหลักการ TWI - การสอนและการโค้ช คืออะไร - ความแตกต่างระหว่างการโค้ช และ การสอน - ปัญหาความล้มเหลวการสอนหรือโค้ช , Workshop - ขั้นตอนการสอน และ การโค้ช การเตรียมตัวก่อนการสอนหรือการโค้ช - การกำหนดหน้าที่งานและประเมินความจำเป็นการสอนและโค้ช - Workshop 12.00-13.00 น. - พัก 13.00-16.30 น. - การจัดทำสารสนเทศสำหรับการสอนและการโค้ช - Workshop - การกำหนดของเขตการสอนและการโค้ช - Workshop การสอน - ขั้นตอนที่ 1 เตรียมตัวเรียน - ขั้นตอนที่ 2 การถ่ายทอดงาน - ขั้นตอนที่ 3 ลองทำ - ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบประสิทธิผล - Workshop - แจกหัวข้อการโค้ชและการสอนเพื่อให้เตรียมตัว วันที่ 2 09.00-12.00 การโค้ชงาน - ขั้นตอนที่ 1 การเชื่อมโยงความสัมพันธ์(Rapport) - ขั้นตอนที่ 2 การฟัง(Listening) - ขั้นตอนที่ 3 การตั้งคำถาม(Question) ชักจูง , ชี้นำ - ขั้นตอนที่ 4 การแลกเปลี่ยนและสรุป(Facilitate) - Workshop - เทคนิคการวางแผนการโค้ช ทดสอบ (การสอนงาน) - แต่ละท่านทดสอนการสอนท่านละไม่เกิน 20 นาที 12.00-13.00 พัก 13.00-17.00 ทดสอบ (การโค้ช) - แต่ละท่านทดสอบการโค้ชท่านละไม่เกิน 20 นาที - ผู้ถูกโค้ชอธิบายแนวคิดที่ได้หลังถูกโค้ช Q&A รูปแบบการอบรม - การอบรมเน้นภาคปฏิบัติเกิน 70% ของเวลาอบรมทั้งหมด - การทำ workshop การสอนใช้การจับคู่เลือก หัวข้อเรื่องได้เองในช่วงเย็นวันที่ 1 และดำเนินการเตรียมตัวและฝึกซ้อมเพื่อนำมาทดสอบการสอนในวันที่ 2 และประเมินการสอนโดย แบบประเมินการสอนของ TWI-JI - การทำ Workshop การโค้ชให้จับคู่กันโค้ชโดยอาจใช้หัวข้อเรื่องที่วิทยากรกำหนดจากสภาพปัญหาทั่วไป เช่น 1. สังคมก้มหน้า 2. ความสำคัญของเวลากับชีวิตประจำวัน 3. ภัยของสุรา 4. ภัยของบุหรี่ 5. การประหยัด 6. ความปลอดภัยในการทำงาน 7. ครอบครัวแหล่งกำเนิดของความสุข โดยผู้ถูกโค้ชจะไม่รู้หัวข้อที่ตนเองถูกโค้ชและหลังจากดำเนินการเสร็จให้ผู้ ถูกโค้ชมาอธิบายแนวคิดและการเปลี่ยนแปลงที่ต้องทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมทราบ ติดต่อสอบถามข้อมูลการอบรม บริษัท บิ๊กคิว เทรนนิ่ง จำกัด BIG Q TRAINING CO., LTD.
16/2 หมู่ 6 ต.มาบแค อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 16/2 Moo 6, Marb-kae, Muang Nakornpathom, Nakornpathom 73000 TEL: 089-9993466 (อุดมศักดิ์) TEL: 090-4649464 , 095-4469446 (กฤตติกา) Fax : 034973518 เว็บไซต์ : www.bigqtraining.com Email : info@bigqtraining.com